“ซีเซียม-137” (Cesium-137) อันตรายแค่ไหน? คนไทยต้องรับมืออย่างไร?
การหายไปอย่างไร้ร่องรอยของ Cesium-137
แคปซูล “ซีเซียม-137” หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำในจังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ทำให้เจ้าหน้าที่จาก “สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (อปท.)” และองค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี ต้องทำการค้นหาอย่างเร่งด่วน เรื่องราวผ่านไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2566 (ผ่านไปแล้ว 19 วัน) ประชาชนก็ยังไม่ได้รับแจ้งถึงเรื่องนี้
20 มี.ค. เลขาธิการ อภ. และผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี แถลงข่าวกรณีพบฝุ่นเตาปนเปื้อนสารซีเซียม-137 ที่โรงงานหลอมเหล็ก อ.กบินทร์บุรี

“ซีเซียม-137” (Cesium-137) คืออะไร?
เป็นโลหะอ่อน มีสีขาวเงิน ไม่มีกลิ่น จะมีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ 28 องศาเซลเซียส มักจะจับตัวกับคลอไรด์ (Chlorides) กลายเป็นผงผลึก

“ซีเซียม-137” เอาไว้ใช้ทำอะไร?
- ใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสีแกมมาในห้องปฏิบัติการวิจัยทางรังสี
- ใช้เป็นเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ
- ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน
- ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง
- ใช้ตรวจสอบไวน์ที่หายาก
การสลายตัว
การสลายตัวครึ่งหนึ่งจากของเดิมที่มีอยู่ (Half-life) จะมีค่าอยู่ที่ 30.17 ปี (หรือ 11,012.05 วัน) หมายความว่า เราต้องใช้เวลา 30 ปี ถึงจะสลายสารตัวนี้ให้เหลือครึ่งเดียว และต้องใช้เวลาไปอีก 30 ปี ของเดิมที่มีอยู่ก็จะสลายไปเหลือครึ่งเดียว รวมๆแล้วหากต้องการให้ซีเซียม-137 สลายตัวจนหมด อาจใช้เวลาหลายร้อยปี
หลายคนอาจจะยังไม่เข้าใจว่าการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่ง หรือครึ่งชีวิต (Half-life) มีวิธีการคิดอย่างไร ยกตัวอย่างของซีเซียม-137 โดยสมมติว่ามีมวลอยู่ที่ 100 กรัม
ปริมาณ | ครึ่งชีวิต | คงเหลือ |
10 กรัม | 30.17 ปี | 5 กรัม |
5 กรัม | 30.17 ปี | 2.5 กรัม |
2.5 กรัม | 30.17 ปี | 1.25 กรัม |
1.25 กรัม | 30.17 ปี | 0.625 กรัม |
0.625 กรัม | 30.17 ปี | 0.3125 กรัม |
0.3125 กรัม | 30.17 ปี | 0.15625 กรัม |
0.15625 กรัม | 30.17 ปี | 0.078125 กรัม |
0.078125 กรัม | 30.17 ปี | 0.0390625 กรัม |
0.0390625 กรัม | 30.17 ปี | 0.01953125 กรัม |
0.01953125 กรัม | 30.17 ปี | 0.009765625 กรัม |
แต่ถ้าเข้าสู่ร่างกายคน ร่างกายเราจะขับออกมาครึ่งหนึ่งในเวลา 70 วัน

หน่วยที่ใช้วัดกัมมันตภาพรังสี
หน่วยเก่าที่ยังคงใช้วัดปริมาณกัมมันตภาพรังสี (Radioactivity) ในปัจจุบัน คือ คูรี (Curie) หรือ Ci
กัมมันตภาพรังสี 1 Ci นั้นมีค่าสูงมาก โดยทั่วไปจะใช้หน่วยย่อยของ Ci เช่น mCi (มิลลิคูรี), μCi (ไมโครคูรี), nCi (นาโนคูรี) และ pCi (pipocurie)
หน่วยวัด | ปริมาณ |
1 Ci | 1,000 mCi |
1 mCi | 1,000 μCi |
1 μCi | 1,000 nCi |
1 nCi | 1,000 pCi |

ปริมาณซีเซียม-137 ที่หายไป
ปริมาณซีเซียม-137 ที่สูญหายอยู่ที่ 41.4 mCi (มิลลิคูรี) ซึ่งเมื่อเทียบกับความแรงรังสีเริ่มต้นวัดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2538 อยู่ที่ 80 mCi หรือถ้าคิดเป็นน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 0.000505 กรัม (505 ไมโครกรัม) ในทางอุตสาหกรรมถือว่าอยู่ในระดับต่ำเพราะจากที่หาข้อมูลมีการใช้งานตั้งแต่ 1–10,000 mCi
หากเทียบปริมาณรังสีซีเซียมในอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล (Chernobyl) เมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2529 ซึ่งคาดว่ามีการปนเปื้อนซีเซียมสู่สิ่งแวดล้อมถึง 27 กิโลกรัม หรือ 2.35×109 mCi เท่ากับปริมาณรังสีมากกว่ากรณีที่เกิดเหตุสูญหายในไทย 56.76 ล้านเท่า
จะเกิดอะไรขึ้นหากเราสัมผัสกับ “ซีเซียม-137”
หากสารตัวนี้รั่วและปะปนกับธรรมชาติ ไม่ว่าจะกระจายอยู่ในดิน น้ำ หรือเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร หากคนรับประทานสารตัวนี้เข้าไป มันจะกระจายไปทั่วร่างกาย บางส่วนอาจจะถูกขับออกทางเหงื่อและปัสสาวะได้ แต่ก็จะมีตกค้างสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ ตับ ไขกระดูก ทำให้เซลล์ในร่างกายนั้นกลายพันธุ์หรือผิดปกติ และสามารถเกิดมะเร็งได้ในระยะ 5-10 ปี
กลุ่มเสี่ยง เช่น คนรับซื้อ-ขายของเก่า รับซื้อเศษเหล็ก เก็บขยะขาย หากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัส ไม่ว่าจะเผลอหรือตั้งใจ อาจทำให้
- เนื้อเยื่อที่สัมผัส เปื่อย เน่า
- ผิวหนังไหม้ หรืออาจสูญเสียอวัยวะบริเวณนั้นไป
- ผม/ขน หลุดร่วง
- ปากเปื่อย
- ภูมิต้านทานลดลง
- มะเร็ง
ต้องทำอย่างไรหากสัมผัสกับซีเซียม-137
- ล้างตาด้วยน้ำสะอาด ล้างมือ อาบน้้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันทีถ้าสามารถทำได้
- ลงทะเบียนกับหน่วยงานที่กำหนดให้มีการจัดทำทะเบียนผู้สัมผัสหรืออยู่ในเหตุการณ์
- ห้ามหยิบจับวัตถุทุกชนิด ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม
- หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลวมากเกินกว่า 2 ครั้ง มีไข้ หนาวสั่น ชักเกร็ง มีเลือดออกที่ใดที่หนึ่งภายใน 1 สัปดาห์ หลังโดนรังสี ให้รีบไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติสัมผัสสารกัมมันตรังสี
- กรณีได้รับซีเซียม-137 เข้าสู่ร่างกาย แพทย์จะจ่ายยาชื่อ ปรัสเซียนบลู (Prussian Blue) เพื่อจะได้ทำปฏิกิริยาเคมีจับกับซีเซียม-137 ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

วิธีกำจัดสารซีเซียม-137
“เอาไปเก็บในที่ปลอดภัยจนกว่าจะสลายไป”
ใช่ว่าในชีวิตประจำวันเราจะไม่เจอสารกัมมันตรังสี แค่เราใช้นาฬิกาที่เข็มเรืองแสงในที่มืด แสงที่เรามองเห็นนั่นก็คือสารกัมมันตรังสีแล้ว หรือถ้าไม่ใส่นาฬิกาเรืองแสง แต่ในบ้านมีเครื่องตรวจจับควัน (smoke detector) หรืออุปกรณ์ป้องกันเพลิงไฟม้ ก็มีสารกัมมันตรังสีอยู่ในนั้นในปริมาณที่น้อยมาก

เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้คนโดยรอบ ควรติดป้ายเตือนให้ทุกคนรู้ว่าอุปกรณ์ไหนที่มีสารกัมมันตรังสี โดยสังเกตุจากป้ายเครื่องหมายเหล่านี้

คุณอาจสนใจเรื่องนี้
- ส่อง Collection เจ็ทส่วนตัวของ Bill Gates
- 10 สายการบินที่มีรายได้เยอะที่สุดในโลก
- 5 ข้อดีของการเป็นลูกเรือเครื่องบิน Private Jet
- “ตลาดใหญ่” Boeing คาดการณ์เครื่องบินใหม่ในจีนจะเพิ่มขึ้นกว่า 8,500 ลำ!
- อยากรวย อยากสำเร็จ วันนี้ต้องไหว้! 19 กันยายน วันคเณศจตุรถี วันเกิด “พระพิฆเนศ”
- ดอนเมือง-สมุย (DMK-USM) ไปกับ Bangkok Airways เริ่มต้น 2,160.- รวมภาษีแล้ว!