The NX Chapter

งานการบิน งานสายการบิน งานสนามบิน นักบิน ลูกเรือ แอร์โฮสเตส สจ๊วต งานขนส่งสินค้าทางอากาศ Logistics แท่นขุดเจาะน้ำมัน งานราชการ รัฐวิสาหกิจ

ContentNice to Know

ระวัง! โพสต์บ่นเจ้านาย ก็ถูกเลิกจ้างได้!

คดีดัง! จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560 คดีนี้ ลูกจ้างโพสต์ลงเฟซบุ๊คว่า

“เมื่อไหร่จะได้ในสิ่งที่ควรได้ว๊ะ… ต้องกินต้องใช้ ไม่ได้แดกดินแดกลมนะ”

“ใครที่เกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลัง โดนเจ้านายกลั่นแกล้ง หยุดซะเถอะความเกลียด ความโกรธ ปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียว เพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยจริงๆ ก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะที่ชีวิตเขาต้องมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็น ยุ่งเหยิงยิ่งกว่าxมอย… ลูกค้าเกลียดวันที่ลูกค้าเต็ม… ตลอด 3 ปีมานี้เขาบอกว่าขาดทุนตลอด อยู่ได้ไงตั้ง 3 ปี… งง… ให้กำลังใจกันได้ดีมาก ขาดทุนทุกเดือน”

ข้อความข้างต้นนี้ นำมาสู่การการถูกเลิกจ้าง โดยศาลพิพากษาว่าแยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

1. เฟชบุ๊คเป็นสื่อออนไลน์สาธารณะที่ผู้ใช้งานใช้ในการติดต่อกับบุคคลอื่นและบุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อความที่มีผู้เขียนลงบนเฟชบุ๊คได้ และมีบุคคลภายนอกเข้ามาเขียนข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อความที่ลูกจ้างเขียนไว้บนเฟชบุ๊ก

2. แม้ข้อความที่ลูกจ้างเขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับแค้นข้องใจ แต่ก็ทำให้ผู้อ่านข้อความเข้าใจว่า นายจ้างกลั่นแกล้งลูกจ้าง นายจ้างเป็นนายจ้างที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เอาเปรียบลูกจ้าง และนายจ้างกำลังประสบปัญหาด้านการเงิน

3. ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างมาเป็นเวลานาน ย่อมทราบดีว่า การเขียนข้อความดังกล่าวย่อมมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของนายจ้าง ซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้า

การกระทำของลูกจ้างจึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (2) และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ดังนั้น “นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง”

ข้อสังเกตุจากเรื่องนี้

  • คดีนี้ศาลไม่ปรับเข้ามาตรา 119(1) เพราะไม่น่าจะเป็นความผิดอาญาในฐานหมิ่นประมาท ทั้งนี้ เพราะเป็นลักษณะ “คำบ่น”
  • แต่ “ฐาน” ในการเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย ยังมีเรื่อง “จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” ตามมาตรา 119(2)
  • เช่นนี้ จึงต้องเข้าใจว่า ไม่ใช่ว่าการบ่นจะนำมาเลิกจ้างได้ทุกกรณี แต่ต้องพิจารณา “เนื้อหาของคำบ่น” ว่า อ่านแล้วรู้สึกว่า “นายจ้างเป็นคนไม่ดี” จริงหรือไม่

หลักในการพิจารณาน่าจะอยู่ตรงที่ว่า “ถ้อยคำดังกล่าว ทำให้นายจ้างเสียหายหรือไม่?” ซึ่งศาลเห็นว่าคำดังกล่าว “ทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย” นายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

ข้อแนะนำจากเรื่องนี้

  • ถ้าเปลี่ยนจากด่านายจ้าง มาเป็นบ่นว่า ช่วงนี้งานหนัก, ต้องรีบปิดงบ, เหนื่อย อะไรทำนองนี้ คนอ่านจะไม่ได้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี แบบนี้ไม่น่าจะเลิกจ้างได้
  • หากจะตั้งประเด็นเรื่อง เลิกจ้างไม่เป็นธรรม (ม. 49 พรบ. จัดตั้งศาลฯ) เรื่องนี้เมื่อมีเหตุอันสมควรในการ เลิกจ้างเกิดจากการโพสบ่นลงโซเชียลมีเดีย จึงถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
  • การใช้เฟสบุ๊คมีหลายมิติต้องระมัดระวัง ผลร้ายอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนการสมัครงาน ข้อหนึ่งที่นำมาพิจารณาประกอบ คือ พฤติกรรม ส่วนหนึ่งก็จะดูจากการโพสต์เฟสบุ๊ค

อ้างอิง: กฎหมายแรงงาน


ทำงานกับคน ต้องอดทน และต้องมีศิลปะในการเจรจา การอยู่ร่วมกับคนส่วนใหญ่

แต่จะทำยังไงให้ทำงานอย่างราบรื่น ปลอดภัย และไม่เสียเพื่อน เรารวบรวมเทคนิคต่างๆมาไว้ในคอร์ส Crew Resource Management แล้ว

มาเรียนรู้การทำงานเป็นทีมกับเวิร์คช็อปออนไลน์ Crew Resource Management ที่จะจัดวันที่ 1-2 พฤษภาคมนี้

อยากรู้ว่า Crew Resource Management คืออะไร สำคัญยังไง รู้แล้วได้เปรียบยังไง ต้องมาเรียนกับเรา!

ราคาเดียว เพียง 990 บาทเท่านั้น!

ไม่สะดวกโอน? จ่ายผ่านบัตรเครดิตก็ได้เหมือนกัน!
ติดต่อ m.me/tacnewz และ Line ID: @tacareers

NX

The NX Master!