The NX Chapter

งานการบิน งานสายการบิน งานสนามบิน นักบิน ลูกเรือ แอร์โฮสเตส สจ๊วต งานขนส่งสินค้าทางอากาศ Logistics แท่นขุดเจาะน้ำมัน งานราชการ รัฐวิสาหกิจ

AviationContent

10 อันดับเครื่องบิน Business Jet ที่เจ๋งที่สุดในโลก

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่ากว่าร้อยปีที่ผ่านมานั้น การที่คนอย่างเราจะบินขึ้นไปบนฟ้าได้ ยังคงเป็นแค่ความฝันลมๆแล้งๆ จนกระทั่งเวลาผ่านล่วงเลยมา หลายๆคนอาจจะถามว่า เรามาถึงจุดนี้ได้ยังไง จุดที่การบินนั้นมีบทบาทในหลายๆอุตสาหกรรม และแบ่งเป็นสัดเป็นส่วนในตัวของมันเอง

คำว่า Business Aviation นั้นก็หมายถึง อากาศยานต่างๆที่ใช้เพื่อการขนส่งติดต่อทางธุรกิจ ข้อมูลจาก National Business Aviation Association (NBAA) ระบุว่า Business Aviation นั้นได้สร้างเม็ดเงินจำนวนมหาศาลมากถึง 150 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เข้าไปในระบบเศรษฐกิจ และยังก่อให้เกิดการจ้างงานมากถึง 1.2 ล้านคน อีกด้วย ในที่นี้เครื่องบินของบริษัทยักษ์ใหญ่ในบรรดา Fortune 500 นั้นมีเพียง 3% จากจำนวนเครื่องที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งหมดราวๆ 15,000 ลำ ส่วนที่เหลือนั้นเป็นของหน่วยงานที่หวังและไม่หวังผลกำไรทั่วสหรัฐฯ ทั้งนี้รวมถึง หน่วยงานต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย และหน่วยงานของรัฐต่างๆ

และวันนี้เราขอนำเสนอบทความจาก globalair.com ซึ่งได้จัดอันดับ 10 สุดยอดเครื่องบิน Business Jet มาให้ทุกท่านได้ชมกัน

อันดับ 10 – Gulfstream 550 (G550)

ในยุทธจักรนี้ หากจะพูดถึงบริษัทผู้ผลิต Business Jet ที่สร้างสรรค์ผลงานอันหรูหรา สุดติ่งกระดิ่งแมว ยากที่จะหาใครเทียบ Gulfstream Aerospace ต้องเป็นหนึ่งในนั้นแน่นอน โดย G550 นั้น มีรูปทรงโค้งเว้า ประกอบกับขุมกำลังเครื่องยนต์ Rolls-Royce BR710 ที่พร้อมจะบินแล่นผ่านไปในอากาศด้วยความเร็ว 0.80 Mach ด้วยความสูงสุด 51,000 ft. เจ้าเครื่องนี้สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 19 คนเลยทีเดียว หากคุณกำลังมองหาอิสระ และความสะดวกสบาย หรือ อยากจะไปพบปะกับคู่ค้าของคุณในอีกซีกโลก ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร เพราะ G550 มีพิสัยการบินถึง 7,000 nm.

ยังไม่พอนะครับ ในส่วนของห้องนักบินเองก็เจ๋งไม่แพ้กัน เพราะมันมีเทคโนโลนี PlaneView ที่ทันสมัย ซึ่งประกอบด้วยหน้าจอ Liquild Crystal ถึง 4 จอ โดยแต่ละจอนั้นมี Software ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทาง Flight Department ของคุณโดยตรงเลย เท่านั้นยังไม่พอ ด้วยเทคโนโลยี Head-Up Display (HUD) ที่สามารถช่วยคำนวณ Flight Data ให้ความรู้สึกเหมือนขับเครื่องบินรบเลยก็ว่าได้

เป็นไงบ้างครับ เจ๋งสุดๆไปเลยใช่ไหมล่ะ? แต่ยังครับ ยังมีอีก ด้วยเทคโนโลยี Enhanced Vision System (EVS) ที่ใช้ infared ทำให้นักบินสามารถบินไปในพื้นที่ที่ทัศนวิสัยย่ำแย่ ถึงขึ้นสามารถมองเห็น Runway Marking, Taxiway หรือ พื้นผิวอื่นๆ ได้อย่างชัดเจน


อันดับ 9 – Gulfstream 200 (G200)

ถือได้ว่าเป็นน้องชายตัวเล็กของ G550 ก็ว่าได้ โดยเจ้าเครื่อง G200 นั้น บินขึ้นผงาดบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรกในวันคริสมาสต์ ปี 1997 และเริ่มจำหน่ายในปี 1999 ถึงแม้ว่าทาง Gulfstream จะเลิกผลิตเครื่องรุ่น G200 ไปแล้ว แต่นั้นก็ไม่ได้ทำให้ความนิยมของเครื่องรุ่นนี้ลดลงไปเลย โดยเฉพาะในกลุ่มผู้นิยมเครื่องบินมือสอง ทำให้มันได้สมญานามว่า Astra Galaxy

เช่นเดียวกับเครื่อง Gulfstream รุ่นอื่นๆ G200 นั้นขยายตัวห้องโดยสารมากขึ้น โดยสามารถบรรจุผู้โดยสารได้มากถึง 18 คน แต่โดยทั่วไปแล้วก็คงจะไม่ให้ผู้โดยสารขึ้นไปเยอะถึงขนาดเต็มความจุกันหรอกครับ เต็มที่ก็แค่ 8-10 คนก็พอแล้ว ทาง G200 นั้น มองข้ามเครื่องยนต์ Rolls-Royce ไป แต่กลับหันมาใช้เครื่องยนต์ของ Pratt & Whitney Canada PW306A แทน ซึ่งสามารถระเบิดความแรงได้มากถึง 0.80 Mach เช่นเดียวกับ G550 เลยนะ ถึงแม้จะเร็วพอๆกับพี่ใหญ่ G550 แต่พิสัยการบินน้อยกว่าครึ่ง จัดเต็มกันที่ 3,400 nm. ที่ความสูง 45,000 ft. ทำให้มันเป็นเครื่องที่เพอร์เฟคมากที่จะบิน Domestic Flight


อันดับ 8 – Hawker 4000

ดูเครื่องจากค่าย Gulfstream มาเยอะแล้ว เราเปลี่ยนมาดูค่ายอื่นกันบ้างดีกว่า Hawker 4000 เครื่องเจ็ทรุ่นท๊อปของ Beechcraft จากค่าย Textron Aviation ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเครื่องรุ่น Cessna ที่เราๆรู้จักกันนั่นเอง ภายหลังจากที่ผลิตมาตั้งแต่ปี 2011 ถึง 2013 เจ้าเครื่องรุ่นนี้สามารถก้าวกระโดดมาเป็นดาวเด่นของ Beechcraft ได้อย่างรวดเร็ว

แทบจะเรียกได้ว่าเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกับ G200 เลยก็ว่าได้นะครับ เพราะมันสามารถจุผู้โดยได้สารได้ถึง 10 คน (มากสุด 14 คน) ภายในห้องโดยสารนั้นสูงถึง 6 ฟุต บินด้วยความสูง 45,000 ft. ด้วยพิสัยการบินอยู่ที่ 3,445 nm. ความเร็วสูงสุดที่ 870 km/hr


อันดับ 7 – Hawker 800XPi

Hawker 800 รุ่นก่อนนั้นถูกผลิตออกในช่วงหลังปี 1980 หลังจากนั้นก็ได้มีรุ่น Upgrade ออกมา ก็คือ XP และ XPi สิ่งที่ทำให้มันมีจุดเด่นก็คือ Winglet ที่เพิ่มขึ้นมา

ก็เหมือนๆกับรุ่นพี่ของมันรุ่นก่อนๆ โดย 800XPi นั้นมีขนาดที่เท่าๆกันในเรื่องของห้องโดยสาร โดยมันสามารถทำความเร็วสูงสุงได้ที่ 745km/hr ในขณะที่พิสัยการบินของมันนั้นต่ำสุดในกลุ่ม ซึ่งอยู่ที่ 2,000 nm และมีเพดานบินสูงสุดที่ 41,000 ft แต่ของดีของมันอยู่ที่ อัตราการไต่ความสูงซึ่งอยู่ที่ 1,948.8 ft/min ซึ่งถือว่าเร็วมาก


อันดับ 6 – Citation Sovereign

ย้ายกลับมาที่ค่าย Textron กันใหม่อีกรอบ พบกับเครื่องในตระกูล Cessna นั่นก็คือ Citation Sovereign หลังจากที่เปิดตัวในช่วงปี 2004 เจ้าเครื่องรุ่นนี้ถูกจัดอยู่ในประเภทเครื่องบินขนาดกลาง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ในตระกูล Citation

จุดเด่นของมันก็คือความสามารถในการ Take off และ Landing โดยใช้ Runway ที่สั้นมากๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมากในเครื่อง Business Jet ซึ่งนั่นก็ทำให้มันเป็นที่นิยมของกลุ่มบริษัทโรงงานในเมืองเล็กๆที่มี Runway ที่สั้นมากๆ นอกจากที่มันจะทำความเร็วได้ถึง 848km/hr แล้ว มันยังจัดอยู่ในกลุ่ม Transcontinental Aircraft อีกด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่ามันมีพิสัยการบินมากถึง 3,000 nm เลยทีเดียว


อันดับ 5 – Falcon 2000

ในบรรดากลุ่มผู้ผลิตเครื่อง Business Jet เครื่อง Falcon แห่ง Dassault Aviation ของทางฝรั่งเศสเห็นจะเป็นผู้ท้าชิงที่คู่คี่สูสีของ Textron และ Gulfstream ก็ว่าได้ โดยส่วนใหญ่เราก็จะเห็นเครื่อง Falcon ที่มีเครื่องยนต์ 3 เครื่อง แต่ไม่สำหรับ Falcon 2000 ที่มีแค่ 2 เครื่องยนต์ก็น่าจะเพียงพอแล้วสำหรับมัน

เมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นๆเดียวกัน ศักยภาพของเจ้า Falcon 2000 นั้นแทบไม่ต่างอะไรมาก นั่นก็คือพิสัยการบินที่ 3,000 nm แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่มีของ ซึ่งของที่ว่านั่นก็คือ ความสามารถในการไต่ระดับการบินไปที่ 37,000 ft โดยใช้ระยะเวลาเพียง 19 นาทีเท่านั้น! หรือจะให้พูดง่ายๆว่า มันก็แค่ 1,900 ft/min เท่านั้นเอง!


อันดับ 4 – Challenger 605

และแล้วเราก็มาถึงผู้ผลิตรายสุดท้ายแล้วนะครับ นั่นก็คือ Canadair ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตที่ไม่ได้มีฐานการผลิตอยู่ในอเมริกา ในส่วนของ Business Jet นั้น คุณอาจจะรู้จักกันดี ภายใต้ชื่อของ Canadair Reginal Jet (CRJ) ซึ่งเป็นหน่วยย่อยของ Bombardier Aerospace นั่นเอง

Challenger 605 ถือได้ว่าเป็นอากาศยานรุ่นที่ 4 ในตระกูล 600 ซึ่งได้รับการเปิดตัวในปี 2006 โดยมีการอัปเกรดถัดจากรุ่น 604 ลูกเล่นที่เพิ่มเข้ามาใหม่ก็คือ ห้องโดยสารที่กว้างขวาง ระบบเครื่องมือต่างๆจากค่าย Rockwell Collins รวมถึงในส่วนของ Electronic Flight Bag

โดยรวมแล้ว Challenger 605 นั้นมีขนาดใกล้เคียงกับเครื่อง Business Jet ที่เราได้กล่าวมาแล้ว แต่ความเร็วของมันนั้นถือได้ว่าแรงไม่เบา ซึ่งอยู่ที่ 870 km/hr และมีพิสัยการบินอยู่ที่ 4,000 nm


อันดับ 3 – Challenger 300

ดูเผินๆ หลายคนอาจจะสับสนกับเครื่อง Challenger 600 เจ้าเครื่องตัวนี้เปิดตัวในช่วงปี 2004 นับว่าเป็นเครื่องจำพวก Super-Mid-Size Jet พูดง่ายๆก็คือเมื่อเทียบกับเครื่องรุ่นๆเดียวกันแล้ว มันมีพิสัยการบินที่สูงกว่ามาก ซึ่งอยู่ที่ 5,700 km และบินสูงอยู่ที่ 45,000 ft


อันดับ 2 – Gulfstream IV-SP (GIV-SP)

กลับมาที่ตระกูล Gulfstream กันอีกแล้ว มองตอนแรกคนก็อาจจะคิดว่า มันก็เหมือนๆกับ Gulfstream รุ่นก่อนๆ แต่คุณรู้ไหมว่า Gulfstream IV-SP (GIV-SP) นั้นมีการปรับปรุงสมรรถนะให้แจ่มจัดหนักยิ่งกว่าเดิม

ยกตัวอย่างเช่น Flight Deck Display ที่ทันสมัยจาก Honeywell, ระบบผลิตไฟฟ้า, ระบบควบคุมอุณหภูมิและคุมความดันภายในห้องโดยสาร ตลอดจนการพัฒนาระบบ APU, Flap System และการออกแบบ Landing Gear ใหม่


และอันดับ 1 ของเรา…

Gulfstream G650!!!

ด้วยรูปทรงที่เพรียวบาง เงางาม และเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูล Gulfstream เจ้าเครื่องรุ่นนี้เรียกได้ว่าแทบจะพาคุณไปได้ทุกที่ สมกับที่บริษัทได้กล่าวว่า “Farther faster, First of Its Kind” ด้วยคุณภาพเหนือระดับจริงๆ

ส่วนเรื่องพิสัยการบินนั้นก็ไม่มากอะไรก็แค่ 7,000 miles! ซึ่งบินด้วยความเร็ว 0.925 Mach ยิ่งไปกว่านั้น มันยังสามารถแบกรับน้ำหนักบินขึ้นได้มากถึง 100,000 lbs (นี้มันจะขนทีมฟุตบอลเลยหรือไง?!)

สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นของเจ้า G650 นี้ก็คือ ปีกที่กว้างมากเกือบๆ 100 ft. แทบจะยาวพอๆกับลำตัวมันเลยทีเดียว ภายในของห้องนักบินนั้นติดตั้งด้วยเทคโนโลยี PlaneView II ก็เหมือนๆกับ G550 คือหน้าจอแสดงภาพ 4 หน้าจอ ประกอบด้วย EVS, HUD, Synthetic Vision และ Fly-by-Wire Technology ถือว่าเป็นเครื่องที่ทันสมัยที่สุดแล้วก็ว่าได้


เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับการจัดอันดับในครั้งนี้? หากผู้อ่านมีเครื่องบิน Jet ที่ตัวเองชอบอยู่ในใจก็เชิญมา Comment แลกเปลี่ยนความเห็นด้านล่างได้เลยครับ

แล้วพบกันใหม่คราวหน้าครับ


บทความโดย Lydia Wiff จาก Global Air

แปลและเรียบเรียงโดย เพิ่มพูน ปัญญาธร (ที่ปรึกษาเพจ Thai Aviation Careers )

NX

The NX Master!