The NX Chapter

งานการบิน งานสายการบิน งานสนามบิน นักบิน ลูกเรือ แอร์โฮสเตส สจ๊วต งานขนส่งสินค้าทางอากาศ Logistics แท่นขุดเจาะน้ำมัน งานราชการ รัฐวิสาหกิจ

AviationContent

สรุปดราม่า เครื่องบิน 33 ล้าน จอดรอใบอนุญาต 1 ปีเต็ม

– บริษัท สกายเอ๊กซ์ตรีม จำกัด นำโดย น.ท.วีระพจน์ พรหมโชติ ประธานกรรมการบริหาร และพรรคพวกซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักบินกองทัพอากาศ มีความฝันอยากทำธุรกิจกีฬา Extream อย่าง “ดิ่งพสุธา” ได้ศึกษาเงื่อนไขต่างๆในการทำธุรกิจ และได้หารือกับ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. / CAAT) ในเรื่องของการขอใบอนุญาต โดยปกติจะใช้เวลาดำเนินการราวๆ 4-6 เดือน โดยเครื่องบินที่จะขอใบอนุญาตนั้น ต้องมีอายุไม่เกิน 16 ปี นับจากวันผลิต หลังจากได้รับอนุญาตแล้ว ใบอนุญาตจะมีอายุ 3 ปี และต่อได้ครั้งละ 3 ปี

– เมื่อได้ศึกษาอย่างถ้วนถี่แล้ว บริษัท สกายเอ๊กซ์ตรีม ได้ทำการสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น PAC 750 XL ที่มีอายุ 15 ปี ขนาด 18 ที่นั่ง ราคา 33 ล้านบาท จากบริษัทให้บริการกีฬาดิ่งพสุธาในออสเตรเลีย เมื่อปลายปี 2562 โดยแต่ละเดือนจะมีค่าบำรุงรักษาอยู่ที่ราวๆ 4 แสนบาท (ค่าบำรุงรักษา, ค่าบินขึ้นเพื่อรักษาระบบทุกสัปดาห์, ค่าเช่าโรงจอด ฯลฯ)

– แต่การดำเนินการขอใบอนุญาตนั้นติดขัดปัญหาเรื่องการตีความอายุของเครื่องบิน

– บริษัทได้ยื่นขอใบอนุญาตต่อสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เมื่อ 25 ธันวาคม 2562 โดยจะมีคณะกรรมการ 3 คณะ เป็นผู้พิจารณาคำขอ ดังนี้

  • คณะกรรมการกลั่นกรองการออกใบอนุญาตประกอบกิจการการบินพลเรือน เห็นสมควรออกใบอนุญาต เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563
  • คณะอนุกรรมการหลักเกณฑ์การอนุญาต อัตราค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ค่าภาระ หรือเงินตอบแทนอื่นใด เห็นสมควรออกใบอนุญาต เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563
  • คณะกรรมการการบินพลเรือน ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2563 เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมออกใบอนุญาต (การลงนามของรัฐมนตรีถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย)

– ปัญหาการติดขัดของการตีความอายุเครื่องบิน คือประเด็นหลักที่บริษัทไม่สามารถมีใบอนุญาตในการประกอบธุรกิจได้

– ตามหลักคือ เครื่องบินที่จะขอใบอนุญาตต้องมีอายุไม่เกิน 16 ปีนับจากวันผลิต ซึ่งผู้ที่จะให้ใบอนุญาตได้ตีความไว้ว่า หากบริษัทได้รับใบอนุญาตซึ่งมีอายุ 3 ปี ในระหว่างการให้บริการในช่วง 3 ปีนั้น เครื่องบินจะมีอายุเกิน 16 ปี ซึ่งอาจผิดหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการการบินพลเรือน

-​ กพท. CAAT ขอให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความข้อกฎหมายใน 2 ประเด็น คือ การจัดหาเครื่องบินที่อายุยังไม่เกิน 16 ปี แต่เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว เครื่องบินจะมีอายุเกิน 16 ปี ถือว่าทำผิดหลักเกณฑ์หรือไม่? และอีกประเด็นคือ ตอนที่ยื่นเรื่องขอใบอนุญาต เครื่องบินมีอายุยังไม่เกิน 16 ปี แต่พอได้รับใบอนุญาตแล้ว เครื่องบินจะมีอายุเกิน 16 ปี ถือว่าทำผิดหลักเกณฑ์หรือไม่?

– หนทางของเรื่องนี้ คือ บริษัทต้องทำการยื่นเรื่องต่อศาลปกครอง เพื่อขอให้คุ้มครองอายุของเครื่องบินระหว่างการพิจารณาให้ใบอนุญาตของกระทรวงคมนาคมให้หยุดนิ่งไว้ก่อน

– ในที่สุด คณะกรรมการกฤษฎีกา ตีความข้อกฎหมาย 2 ประเด็นที่ กพท. ขอให้ช่วยตีความ คือ การนับอายุเครื่องบินที่ไม่เกิน 16 ปี นับถึงวันยื่นขออนุญาต (กรณีนี้คือ บริษัทยื่นขอไปเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2562 ซึ่งเครื่องบินยังมีอายุ 15 ปี) เมื่อได้ใบอนุญาตแล้ว จะไม่ได้นับเรื่องอายุเครื่องบินอีกต่อไป และอีกประเด็นคือ ตอนที่ยื่นขอใบอนุญาต เครื่องบินมีอายุยังไม่เกิน 16 ปี แต่วันที่ได้รับใบอนุญาต แม้อายุเครื่องบินเกิน 16 ปีไปแล้ว จะไม่ถือว่าผู้ขอใบอนุญาตทำผิดเงื่อนไข

– หลังการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกา ทุกคนในบริษัทสกายเอ๊กซ์ตรีมมีความรู้สึกโล่งอก จากนี้จะรอดูท่าทีจากกระทรวงคมนาคมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อ จะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่ แต่หากยังเป็นเหมือนเดิม อาจมีความจำเป็นต้องฟ้องศาลปกครองให้ชี้ขาดอีกครั้ง

– จริงๆตามปกติในแวดวงการบินนั้น เรื่องนี้มีความหมายเหมือนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ แต่การถูกตั้งข้อสังเกตุจนกินเวลาเกิน 1 ปีนั้น ยังไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร

– ทุกคนในบริษัทคาดหวังให้เรื่องนี้จบลงโดยเร็ว เพราะตั้งแต่เริ่มเรื่อง บริษัทเสียหายไปแล้วกว่า 50 ล้านบาท (ค่าเครื่องบิน 33 ล้านบาท + ค่าบำรุงรักษาและค่าเช่า 17 ล้านบาท)​ และเสียโอกาสในการทำธุรกิจ ซึ่งควรจะดำเนินกิจการไปได้แล้ว

คืนความยุติธรรมให้กับธุรกิจการบิน โดยท่านเสรีพิศุทธ์


พิเศษ! สมัครเรียนพร้อมกัน 2 เวิร์คช็อป (Aircraft Load Control + Crew Resource Management)
ในราคาสุดพิเศษ เพียง 1,599 บาทเท่านั้น!

อ่านรายละเอียด COMBO COURSE ได้ที่นี่

คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเวิร์คช็อป Crew Resource Management
คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายละเอียดเวิร์คช็อป Aircraft Load Control

 

NX

The NX Master!