The NX Chapter

งานการบิน งานสายการบิน งานสนามบิน นักบิน ลูกเรือ แอร์โฮสเตส สจ๊วต งานขนส่งสินค้าทางอากาศ Logistics แท่นขุดเจาะน้ำมัน งานราชการ รัฐวิสาหกิจ

ContentAviation

ATC เงินเดือนเท่าไหร่?

ถามกันมาเยอะมาก ถึงเรื่องของรายได้ของเจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือ ATC – Air Traffic Controller ว่ามีรายได้เป็นอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลดีๆจากเว็บไซต์ ทรูปลูกปัญญา มาเล่าให้ฟัง

“รายได้”

19,000 – นักเรียนฝึกหัด / ยังไม่มีประสบการณ์ (อ้างอิงจากประกาศปี 2560)

50,000-100,000++ – เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว จะมีค่าใบประกอบวิชาชีพ เงินเดือน รวมถึงค่าล่วงเวลา และอื่นๆ (ขึ้นอยู่กับผลประกอบการขององค์กรหรือหน่วยงานนั้น ๆ)

หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้จักว่า อาชีพ ATC นี้ เขาทำงานกันยังไง แนะนำให้อ่านบทความเกี่ยวกับ ATC ย้อนหลัง
ATC ตอนที่ 1 | ATC ตอนที่ 2 | ATC ตอนที่ 3

พูดถึงการทำงานของ ATC นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ แบ่งตามพื้นที่ที่ควบคุม ดังนี้

  1. การควบคุมจราจรทางอากาศบริเวณท่าอากาศยาน (Aerodrome Control Service)
  2. การควบคุมจราจรทางอากาศ เขตประชิดท่าอากาศยาน (ApproachControl Service)
  3. การควบคุมจราจรทางอากาศตามเส้นทางบิน (Area Control Service)

ปกติแล้ว ATC จะทำหน้าที่ตรวจสอบตารางการบินของสายการบินทุกสายที่แจ้งเวลาขึ้นลงของเครื่องบินล่วงหน้า โดยควบคุมทั้งการขึ้นและการลงจอดของเครื่องบินภายในเขตพื้นที่ที่กำหนดเพื่อความปลอดภัยทั้สูงสุด เจ้าหน้าที่จะทำการสังเกตุ (Monitoring) จอ Radar เพื่อติดต่อสื่อสารกับนักบินทางวิทยุ และแนะนำข้อมูล หรือ สั่งการ การนำเครื่องขึ้นลง ระดับความสูง ทิศทาง แนะนำการวิ่งเข้าออกพื้นที่ Runway แจ้งข่าวสารต่างๆ เช่น สภาพอากาศตามเส้นทางบิน และบันทึกรายงานที่ได้จากนักบิน เป็นต้น

Career Path – เส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ

เจ้าหน้าที่ ATC คือ สังกัดหน่วยงานระบบรัฐวิสาหกิจ หากปฏิบัติหน้าที่นี้มานานจนมีความชำนาญและหากได้รับการอบรมในหลักสูตรวิชาชีพชั้นสูงขึ้นไป จะสามารถเลื่อนขั้นไปจนถึงตำแหน่งหัวหน้า หากมีความสามารถในการบริหาร และมีคุณสมบัติตามเงื่อนไข ก็สามารถได้เลื่อนขึ้นจนถึงตำแหน่งสูงสุดคือผู้บริหารขององค์กร

ในบริษัทวิทยุการบิน ตำแหน่งจะเรื่มต้นจาก

เจ้าหน้าที่ข้อมูลการบิน –> เจ้าหน้าที่ควบคุมการจราจรทางอากาศ –> เจ้าหน้าที่ Area Control Center –> Supervisor ของแต่ละผลัดการทำงาน –> ผู้จัดการการบิน

และสามารถย้ายสายงานเพื่อเติบโตไปด้านงานบริหารต่อไป

มาพูดถึง ข้อดี-ข้อจำกัด ของอาชีพนี้กันบ้าง

ข้อดี

  • รายได้-สวัสดิการดี
  • เป็นอาชีพที่ทำให้ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเราดีขึ้น เมื่อทำงานไปสักระยะ
  • สมาธิดี โฟกัสสูง
  • ภาษาอังกฤษจะพัฒนาขึ้นมาก

ข้อจำกัด

  • ทำงานป็นกะ เวลาทำงานไม่เหมือนอาชีพอื่น
  • ซึ่งเมื่อทำงานเป็นกะแล้วนั้น แปลว่าเวลานอน เวลากิน จะต้องเปลี่ยนไปตามกะทำงานแต่ละวัน
  • ความเครียดและความกดดันสูง โดยเฉพาะในสนามบินที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่น หรือหากมีสถานการณ์ฉุกเฉิน

การทำงานเป็นกะ มีชั่วโมงการทำงาน 12 ชั่วโมง แบ่งได้ดังนี้
– ทำงาน 2 ชั่วโมง (Control เครื่อง 1 ชั่วโมง / Assistant 1 ชั่วโมง)
– พัก 1 ชั่วโมง

เข้ากะเช้า เวลา 08.00-20.00 น. แล้วพัก 24 ชั่วโมง
เข้ากะกลางคืน ทำงาน 20.00-08.00 น. แล้วพัก 48 ชั่วโมง

ใครที่จะทำงานนี้ได้?

  • มีความอดทนสูง
  • มาสมาธิสูง
  • ควบคุมอารมณ์ได้ในทุกสถานการณ์
  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี
  • เป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี

ต้องมีทักษะอะไรบ้าง?

  • การสื่อสารชัดเจน รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพราะต้องสื่อสารกับนักบิน
  • การจัดการที่ดี เพราะต้องจัดการทั้งเรื่องเวลา, การจัดลำดับ, ความหนาแน่นของการจราจรบนฟ้า, รวมถึงการควบคุมดูแลให้เครื่องบินไปถึงจุดหมายได้อย่างปลอดภัย
  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่ถูกต้อง การตัดสินใจที่รวดเร็ว
  • ภาษาอังกฤษ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้เลย เพราะทั่วโลกต้องใช้ภาษานี้เป็นหลัก

การพัฒนาตัวเองเพื่ออาชีพนี้

  • ฝึกภาษาอังกฤษให้คล่อง ทั้งพูด ฟัง อ่าน เขียน
  • เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการบินให้มากที่สุด อ่านหนังสือด้านการบินให้เยอะๆ จำแนกรุ่นของเครื่องบินและข้อมูลทางเทคนิคของแต่ละรุ่นให้ได้
  • เรียนรู้กรณีศึกษาต่างๆในอดีต เพื่อจะได้มีฐานข้อมูลในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สถาบันชั้นนำของโลกในด้านการจัดการการจราจรทางอากาศ

  • Bachelor of Science in air traffic controller (ATC) / College of Aeronautics 🇺🇸
  • Bachelor of Science in Air Traffic Management (ATM) / Embry-Riddle Aeronautical University – Daytona Beach 🇺🇸
  • The Associate of Arts in Air Traffic Control / Florida Institute of Technology 🇺🇸
  • Associate of applied arts and sciences degree in Aviation Air Traffic Control / Aviation Department / HESSTON College 🇺🇸

อาชีพที่ใกล้เคียงกับอาชีพนี้

  • นักบิน (พานิชย์/ส่วนบุคคล)
  • เจ้าหน้าที่ในองค์กรและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสายการบิน
  • งานด้านความปลอดภัยด้านการบินในสนามบิน, สายการบิน, หน่วยงานภาคพื้น และบริษัทวิทยุการบิน

สำหรับใครที่อยากรู้ว่า อาชีพนี้ ต้องเรียนอะไร จบสาขาอะไรมา และในเมืองไทยมีที่ไหนสอนบ้าง ติดตามกันได้ในบทความต่อไป


ใครอยากทำงานเป็น “Air Traffic Controller” ต้องไม่พลาดเวิร์คช็อปออนไลน์ของเรา

รายละเอียดของเวิร์คช็อปทั้งหมด คลิกที่รูปภาพได้เลย

ATC online workshop

NX

The NX Master!